[Notebook] แนะนำ - MyASUS in UEFI Bioses

MyASUS in UEFI เป็นอินเทอร์เฟซ UEFI ใหม่สำหรับผู้ใช้โน้ตบุ๊ก ASUS

การออกแบบหน้าจอของ MyASUS in UEFI ช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำจัดประสบการณ์การใช้งาน Bioses หน้าจอสีน้ำเงินและสีขาวแบบเก่าได้ โดยในรูปแบบใหม่นี้ใช้รูปภาพและสีที่หลากหลายเพื่อให้ผู้ใช้มีประสบการณ์การใช้งานที่คล้ายคลึงกับระบบปฏิบัติการที่อยู่ใน UEFI แม้ว่าจะผู้ใช้งานที่ไม่เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะไม่รู้วิธีใช้งาน

ไม่เพียงแต่ปรับการตั้งค่าฮาร์ดแวร์เท่านั้น MyASUS in UEFI ยังสามารถทำการตรวจจับระบบฮาร์ดแวร์ที่มีปัญหา และการกู้คืนผ่านระบบคลาวด์ ภายใต้ UEFI ได้อีกด้วย

หากระบบไม่สามารถบู๊ตเข้า OS ได้ คุณสามารถใช้ Cloud Recovery ใน MyASUS in UEFI เพื่อลง OS ใหม่ได้ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ และต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้นเพื่อกู้คืนการตั้งค่าจากโรงงานอย่างรวดเร็ว ด้วยการสนับสนุนทางเทคนิค คุณสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ได้ด้วยตัวเอง

 

หัวข้อ

  1. ความต้องการของระบบ
  2. วิธีการเข้า MyASUS in UEFI Bioses
  3. Dashboard
    3.1 วิธีเข้าสู่หน้าการตั้งค่า Bioses
    3.2 วิธีการอัพเกรด Bioses
  4. การตั้งค่า Permission
  5. System Diagnostics
  6. Cloud Recovery

 

1. ความต้องการของระบบ

  • Support Intel 12th Gen Intel® Core™ processors(Alder lake)  หรือใหม่กว่า(บางรุ่นไม่รองรับฟังก์ชั่น Cloud Recovery)
  • Suppor AMD's Ryzen 6000  processors(Rembrandt) หรือใหม่กว่า(บางรุ่นไม่รองรับฟังก์ชั่น Cloud Recovery)
  • การสำรองข้อมูลในเครื่องจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก
  • Cloud Recovery จำเป็นต้องใช้เครือข่าย LAN หรือ Wi-Fi
  • Power supply

กลับสู่หัวข้อหลัก

 

2. วิธีการเข้า MyASUS in UEFI Bioses

กดปุ่ม [ESC] หรือ [F2] ตอนบู๊ตเครื่องและหน้าจอต่อไปนี้จะปรากฏขึ้น ให้กดปุ่มลูกศรบนแป้นพิมพ์ แล้วเลือก [Enter Setup] และกดปุ่ม Enter เพื่อเข้าสู่ MyASUS in UEFI Bioses

กลับสู่หัวข้อหลัก

 

3. Dashboard

ไปที่ [MyASUS in UEFI Bioses] Main Interface - Dashboard คุณสามารถเปลี่ยนภาษาได้ที่ ①[Language] คลิก ②[Reset to Default] เพื่อเรียกคืนการตั้งค่าเริ่มต้นของระบบ คลิก ③[Advanced Setting] เพื่อเข้าสู่หน้าการตั้งค่า Bioses และที่ ④[Firmware Update] ดูชื่อคอมพิวเตอร์ เวอร์ชั่น Bioses และข้อมูลอื่นๆ แล้วคลิก ④[Firmware Update] เพื่ออัพเกรดเวอร์ชั่น Bioses ดูรายละเอียดฮาร์ดแวร์พีซีใน⑤[Hardware Information] ปิดหรือเปิดคุณสมบัติต่างๆ เช่น WiFi หรือ Bluetooth ได้อย่างรวดเร็ว ⑥[Input/Output Lock] แต่หากคุณปิดใช้งาน สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถใช้ได้บน Windows จัดลำดับความสำคัญรายการเริ่มต้นใน ⑦[Boot priority] ใน ⑧[USB External Port] ดูอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ต USB ใน ⑨[Asset Information] กรอกข้อมูลที่ต้องการบันทึก เมื่อคุณตั้งค่าฟังก์ชันในแดชบอร์ดหรือฟังก์ชันใน Bioses แล้ว ให้กด F10 เพื่อบันทึกเมื่อคุณออก

กลับสู่หัวข้อหลัก

 

3.1 วิธีเข้าสู่หน้าการตั้งค่า Bioses

กด F7 เพื่อเข้าสู่หน้า Advanced Settings ซึ่งคุณสามารถตั้งค่าฟังก์ชันต่างๆ ภายใน Bioses เมื่อเสร็จสิ้น ให้กด F10 เพื่อบันทึกและออก

3.2 วิธีการอัพเกรด Bioses

(1) คลิกที่ ①[Firmware Update].

(2) ที่ storage Device(s) ให้หา ②[path] ที่จัดเก็บไฟล์อัพเกรด Bioses แล้วให้เลือก ③[Bioses Upgrade File] จากนั้นกดปุ่ม Enter

วิธีการดาวน์โหลดไฟล์อัพเกรด Bioses:

  • คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์อัปเกรด Bioses ได้โดยไปที่แอป MyASUS-> User Service-> Live update
  • คุณยังสามารถไปที่เว็บไซต์ ASUS - > ค้นหาชื่อคอมพิวเตอร์ของคุณ - > ดาวน์โหลดไฟล์อัปเกรด Bioses ที่ Support

(3) คลิก ④[Confim].

(4) คลิก ⑤[Confirm].

(5) ขณะที่ Bioses เริ่มทำการอัพเกรด โปรดเชื่อมต่อที่ชาร์จของคอมพิวเตอร์ไว้ตลอด และอย่าแตะต้องคอมพิวเตอร์ ให้รอจนกว่าการอัพเกรด Bioses จะเสร็จ หลังจากการอัพเกรดเสร็จสมบูรณ์จะเข้าสู่เครื่องจะเข้าสู่ Windows อัตโนมัติ

กลับสู่หัวข้อหลัก

 

4. การตั้งค่า Permission

(1) คลิก ①[Permission Settings] คลิก ②[UEFI-Password Settings].

(2) ให่คุณตั้งค่า ③[Password] และคลิก ④[Confirm].

(3) หน้าต่างป็อปอัพจะปรากฏขึ้น คลิก ⑤[Confirm] ให้กด F10 เพื่อบันทึกและออก

(4) เมื่อคุณกดปุ่ม [ESC] หรือ [F2] ในครั้งต่อไปที่คุณเปิดเครื่องเพื่อเข้าสู่ Boot Manager หน้าจอต่อไปนี้จะปรากฏขึ้น ให้ใส่ ⑥[UEFI Password] และคลิก ⑦[OK].

หากคุณไม่ได้กดปุ่ม [ESC] หรือ [F2] คอมพิวเตอร์ของคุณจะเข้าสู่ Windows โดยอัตโนมัติและหน้าจอต่อไปนี้จะไม่ปรากฏขึ้น

หากคุณลืมรหัสผ่าน โปรดติดต่อ ASUS Customer Service เพื่อขอความช่วยเหลือ

(5) เมื่อคุณเข้าสู่ Boot Manager แล้ว ให้เลือกการดำเนินการตามที่คุณต้องการ

กลับสู่หัวข้อหลัก

 

5. System Diagnostics

คลิก [System Diagnostics] และคุณสามารถทดสอบส่วนประกอบในหน้านั้นได้ สำหรับวิธีการทดสอบโดยละเอียด โปรดคลิก: [Notebook] แนะนำ - MyASUS in WinRE

*สำหรับการทดสอบส่วนประกอบ Wi-Fi บางรุ่น รองรับเฉพาะฟังก์ชันตรวจสอบอุปกรณ์เท่านั้น

กลับสู่หัวข้อหลัก

 

6. Cloud Recovery

คลิก[Cloud Recovery] และคุณสามารถใช้ฟังก์ชันนี้เพื่อกู้คืนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ของคุณ สำหรับวิธีการโดยละเอียด โปรดคลิก: [Notebook] แนะนำการใช้งาน - การกู้คืนระบบคลาวด์ภายใน MyASUS ใน UEFI

*สำหรับส่วนประกอบส่วนประกอบ Wi-Fi บางรุ่นที่รองรับเฉพาะการตรวจสอบอุปกรณ์เท่านั้น

กลับสู่หัวข้อหลัก